วันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2553

บทที่ 2 การบริหารทรัพยากรคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์

บทที่ 2
การบริหารทรัพยากรคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์

วงจรการทำงานของคอมพิวเตอร์
มีขั้นตอนการทำงานพื้นฐาน 4 ขั้นตอน ซึ่งประกอบด้วย การรับข้อมูล การประมวลผล การแสดงผล และการจัดเก็บข้อมูล หรือที่เรียกย่อๆ ว่า IPOS Cycle (Input Process Output Storage Cycle)
1. รับข้อมูล (Input) อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เช่น เมาส์ Mouse สแกนเนอร์ (Scanner) ไมโครโฟน (Microphone) และกล้องดิจิทัล (Digital Camera) เป็นต้น
2. ประมวลผล (Process) เช่น การคำนวณ ภาษี คำนวณเกรดเฉลี่ย
3. แสดงผล (Output) การที่ได้จากการประมวลผลไปยังหน่วยแสดงผล ซึ่งอุปกรณ์ได้แก่ จอภาพ ลำโพง เครื่องพิมพ์
4. จัดเก็บข้อมูล (Storage) คือการจัดเก็บข้อมูลลงในอุปกรณ์ เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นซีดีรอมประเภทของคอมพิวเตอร์
โดยทั่วไปนิยมจำแนกประเภทคอมพิวเตอร์เป็น 7 ประเภท
1. ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด มีราคาสูงมาก สามารถประมวลผลได้ถึงพันล้านคำสั่งต่อวินาที ปัจจุบันมีการนำไปใช้กับงานออกแบบชิ้นส่วนรถ งานวิเคราะห์สินค้าคงคลัง การออกแบบงานด้านศิลปะ ฯลฯ
2. คอมพิวเตอร์เมนเฟรมหรือคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Mainframe Computer) มีประสิทธิภาพรองจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์ สามารถรองรับการทำงานจากผู้ใช้ได้หลายร้อยคนในเวลาเดียวกัน นิยมใช้กับองค์การขนาดใหญ่ที่มีการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้จำนวนมากในเวลาเดียวกัน เช่น ธนาคาร การจองตั๋วเครื่องบิน การลงทะเบียน บริษัทประกัน
3. มินิคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง (Minicomputer) หรือเรียกว่า Mid-rang Computer/Sever มีประสิทธิภาพด้านความเร็วน้อยกว่าเมนเฟรม สามารถรองรับการทำงานจากผู้ใช้หลายคน ตัวอย่างการใช้งานเช่น การคำนวณทางด้านวิศวกรรม การจองห้องพักโรงแรม งานด้านการบัญชีขององค์การธุรกิจ
4. คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop Computer) คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือที่เรียกกันว่า PC (Personal Coomputer)
5. คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค หรือบางครั้งเรียกว่า แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ (Laptop Computer) เป็นคอมฯ ที่มีขนาดเล็ก บาง และนำหนักเบา เหมาะแก่การพกพา ใช้กับไฟฟ้ามาตรฐานทั่วไป และแบตเตอรี่
6. Hand-held Personal Computer หรือ Palmtop Computer เป็นคอมฯ ที่มีขนาดเล็กที่สุด หรือที่เรียกกันว่า PDA (Personal Digital Assistant)
7. คอมพิวเตอร์แบบฝัง (Embedded Computer) นิยมนำมาใช้ทำงานเฉพาะด้าน เช่น เครื่องเล่นเกม ระบบเติมน้ำมันอัตโนมัติ โทรศัพท์มือถือ ตู้ร้องคาราโอเกะ

ทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ (Hardware)
โดยทั่วไปหมายถึง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ต่อพ่วงเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ มีองค์ประกอบหลัก 6 ส่วนคือ
1. อุปกรณ์รับข้อมูล (Input Devices)
2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) หรือ ซีพียู (CPU)
3. หน่วยความจำ (Memory)
4. อุปกรณ์แสดงผล (Output Devices)
5. อุปกรณ์การสื่อสาร (Communication Devices)
6. อุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง (Storage Devices)

การบริหารทรัพยากรคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ให้เหมาะสมต่อการใช้งานในองค์การมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ ผู้บริหารจึงมีบทบาทสำคัญยิ่งในการจัดการทรัพยากรคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ให้เกิดการใช้งานให้ได้ประโยชน์สูงสุด ซึ่งในการจัดการกับทรัพยากรไอทีด้านฮาร์ดแวร์นั้นมีประเด็นในการพิจารณาดังนี้
1. จัดหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้สอดคล้องกับความจำเป็นและการแข่งขันของธุรกิจ
2. กำหนดมาตรฐานในการจัดซื้อจัดหาทรัพยากรฮาร์ดแวร์
3. จัดทำระบบข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์

เทคโนโลยีซอฟต์แวร์
มีหน้าที่ในการควบคุมให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานให้ได้ตามผลลัพธ์ที่ต้องการ แบ่งเป็น 2 ประเภท
1. ซอฟต์แวร์ระบบ แบ่งได้ 2 ประเภท
- ระบบปฏิบัติการ เช่น ระบบปฏิบัติการดอส , ลีนุกซ์, windows 98, ME, XP, Vista
- โปรแกรมอรรถประโยชน์ เช่น โปรแกรม Disk Defragmenter , Virus Scan, WinZip
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คือ เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะงานต่างๆ ขององค์การ และมีค่าใช้จ่ายในการพัฒนาสูง เช่น Microsoft word, power point, Adobe Photoshop, Adobe Pagemaker ฯลฯ

ภาษาโปรแกรม
สามารถแบ่งเป็น 5 ยุคได้ดังนี้
1. ภาษาเครื่อง คือ ภาษาที่ประกอบด้วยเลขฐานสอง (Binary Digits หรือ bits) คือ เลข 0 กับ 1
2. ภาษาแอสแซมบลี (Assembly Language) เป็นการใช้สัญลักษณ์แทนภาษาเครื่อง 0 กับ 1 เช่น PRICE แทนตำแหน่งที่เป็นที่อยู่ของ unit price ซึ่งเดิมเป็นตัวเลข 11001011
3. ภาษาระดับสูง (High-level Languages) หรือภาษาโพรซีเยอร์ เป็นคำสั่งลักษณะเหมือนภาษาอังกฤษ เช่น add แทน คำสั่ง บวก print แทน คำสั่ง พิมพ์ ฯลฯ
4. ภาษาระดับสูงมาก (Very High-level Languages) แตกต่างจากยุคที่สาม โดยไม่ใช้ภาษาโพรซีเยอร์ โดยเพียงเขียนโปรแกรมส่งว่าต้องการอะไร (what) โดยไม่เขียนคำสั่งอธิบายว่าต้องทำอย่างไร (how) จึงเป็นการง่ายกว่าเขียนภาษาในยุคที่สาม (ก็งง..!)
5. ภาษาธรรมชาติ เป็นคำพูดของภาษามนุษย์เป็นโครงสร้างของภาษาอังกฤษ เช่น select first_n, last_n from student where gpa>3.0 แต่เป็นภาษาธรรมชาติ คือ tell me he names of students with gpa over 3.0 ส่วนมากนำไปใช้ประยุกต์กับระบบ ผู้เชี่ยวชาญ (Expert System)

กรณีศึกษาบทที่ 2

1. ประโยชน์ที่ได้จาการนำพีดีเอมาใช้ในธุรกิจร้านก๋วยเตี๋ยวมีอะไรบ้าง
ตอบ =  - ลดการผิดพลาดในการทำอาหารที่ไม่ถูกต้องตามที่ลูกค้าต้องการ ส่งผลทำให้ลดต้นทุนในการผิดพลาดของกิจการ
- ลดเวลาในการคำนวณรายรับ-รายจ่ายต่างๆ และถูกต้องแน่นอน
- ทำให้กิจการเกิดความคล้องตัวสูงในการให้บริการลูกค้า
- ลดการใช้กระดาษ ลดน้ำหมึกด้วยค่ะ ^^”

2. ท่านคิดว่ามีข้อจำกัดหรือปัญหาอะไรบ้างในการนำเทคโนโลยีพีดีเอมาใช้ในธุรกิจนี้
ตอบ =  - ปัญหาเรื่องต้นทุนที่เพิ่มขึ้นในการนำอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์มาใช้
            - การจัดหาอุปกรณ์ที่นำมาใช้เกินความจำเป็นที่กิจการควรได้รับ
- ด้านการพัฒนาบุคลากรในกิจการในระบบเทคโนโลยี่ใหม่

3. ธุรกิจใดบ้างที่สามารถนำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้ จงอธิบาย?
ตอบ =  - ธุรกิจทางด้านร้านอาหาร, ภัตตาคารขนาดใหญ่ หรือ กิจการที่มีบริเวณกว้าง (ระยะทางไกล) เช่น เรือแพต่างๆ ฯลฯ เพราะ ร้านอาหารและภัตตคารขนาดใหญ่ หรือกิจการที่มีบริเวณที่ให้บริการกว้าง (ระยะทางไกล) และมีผู้ใช้บริการจำนวนมาก อีกทั้งเป็นผู้ที่รับบริการที่จัดว่ามีอำนาจในการใช้จ่ายในด้านราคาสูง และการให้บริการควรให้ความสำคัญในด้านการให้บริการเป็นอย่างมาก จึงไม่ควรเกิดความผิดพลาด ดังนั้น การนำเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาช่วยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการและความสะดวกรวดเร็วให้กับกิจการ และเพื่อทำให้เกิดความประทับใจแก่ลูกค้า และเป็นการส่งผลให้กิจการมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นและคุ้มกับต้นทุนที่เสียไปกับการนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้

ข่าวไอที

พอยท์ เอเชียเปิดเว็บไซต์ PointThailland.com บริการ E-Directory Online โฟกัสที่กลุ่มเอสเอ็มอีที่เป็นธุรกิจฐานใหญ่ แต่ยังกล้าใช้ความเป็นไฮเทคเข้าไปช่วย ตั้งเป้าปีแรก 1.5 แสนราย หวังปั๊มรายได้จากค่าสมาชิกที่ต้องการมีโชว์รูมสินค้า 2,500 บาทต่อปี นายวิวัฒน์วงศ์ วิจิตรวาทการ กรรมการบริหาร บริษัท พอยท์ เอเชีย ในเครือล็อกซเล่ย์ กล่าวว่า ปัจจุบันธุรกิจที่จะฉวยโอกาสจากเทคโนโลยีออนไลน์ในประเทศไทยมีน้อยมาก โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและเล็กหรือเอสเอ็มอี ยังไม่มีการใช้เทคโนโลยีออนไลน์ เพราะอาจมองว่าเป็นเรื่องที่ยาก เสียเงินมาก และไม่รู้จะได้ผลหรือไม่ ซึ่งนี้หากตีโจทย์แตก โอกาสดึงผู้ประกอบการกลุ่มนี้ขึ้นมาใช้ออนไลน์มีโอกาสสูงมาก โจทย์ที่จะต้องแก้คือความง่ายในการใช้งาน ซึ่งจะเป็นจิ๊กซอว์ที่จะเห็นเป็นรูปเป็นร่างขึ้นเรื่อยๆ อย่างการเปิดตัวเว็บไซต์ PointThailland.com ที่พอยท์ เอเชียร่วมกับอีคาร์ท สตูดิโอ ผู้เชี่ยวชาญด้านอี-คอมเมิร์ซพัฒนาขึ้นเพื่อให้บริการ E-Directory Online และถือเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในชุมชนมาหาประโยชน์จากระบบออนไลน์ได้ E-Directory เป็นแหล่งรวมธุรกิจสินค้าและบริการที่มีคุณสมบัติช่วยโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการผ่านอินเทอร์เน็ต โดยไม่ต้องเสียค่าบริการ แต่หากต้องการนำสินค้าในรูปแบบที่น่าสนใจเสมือนมีเว็บไซต์ของตัวเอง PiontThailland.com ก็มีพื้นที่สำหรับโชว์รูมแสดงสินค้า ที่ผู้ประกอบการสามารถตกแต่งให้ตรงใจได้ด้วยตัวเอง และมีพื้นที่โปรโมชันตามต้องการ โดยมีแผนที่ถ่ายภาพดาวเทียมเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบร้านค้า เพื่อแสดงจุดที่ตั้งบริษัท ห้างร้าน โดยจะคิดค่าบริการปีละ 2,500 บาท โดยเรียกลูกค้ากลุ่มนี้ว่ากลุ่มผู้ขายสินค้า หรือ Point@Business อีกกลุ่มจะผู้ซื้อสินค้าซึ่งเรียกว่า Point@Home สามารถสมัครเป็นสมาชิกได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เพื่อสะดวกในการติดต่อกับผู้ขายสินค้า ดร.ธัชพงษ์ โหตรภาวนนท์ ที่ปรึกษาพอยท์ เอเชีย กล่าวว่า ขณะนี้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในไทยมีประมาณ 4 แสนราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าภูมิปัญญาไทย และสินค้าที่เป็นงานฝีมือ เชื่อว่า PointThailland.com จะเป็นช่องหนึ่งที่ทำหน้าที่โฆษณาและประชาสัมพันธ์สินค้าให้เป็นที่รู้จักและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ ทั้งนี้ จากการสำรวจตลาดและหากวาดเป็นรูปปิระมิดส่วนยอดคือเป็นผู้ใช้คอมพิวเตอร์มีประมาณ 10% ส่วนที่อยู่ตรงกลางคือกลุ่มที่มีความต้องการใช้คอมพิวเตอร์แต่ใช้ไม่เป็น หรือเป็นแต่ยังมีฟังก์ชันที่ง่ายสูงถึง 50% ส่วนที่เป็นฐานล่าง ที่ยังไม่มีความจำเป็นที่จะใช้ 40% “50 เปอร์เซ็นต์เป็นปัญหาของเราที่จะช่วยให้เขามาใช้เรื่องไฮเทคได้ สิ่งที่เป็นปัญหาที่สุดคือคอมพิวเตอร์ เราจึงมีการทำ PointThailland Station ขึ้น เพื่อเป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี” PointThailland Station เป็นอุปกรณ์ที่มีฟังก์ชันการใช้งานครบทุกขั้นตอนสำหรับการนำสินค้าเข้าสู่ตลาดออนไลน์ โดยลักษณะการทำงานของอุปกรณ์ดังกล่าวจะเชื่อมต่อด้วยอินเทอร์เน็ตโดยตรงสู่เว็บไซต์ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใหม่ ง่าย สะดวกในการเข้าสูระบบซื้อ-ขายทางอินเทอร์เน็ตด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการดูแลรักษาอุปกรณ์และปัญหาไวรัส PointThailland Station มีราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 8,500 บาท หรือหาต้องการเช่าจะคิด 1,500 บาทต่อเดือน โดยทางพอยท์เอเชียให้ไปทดลองใช้ก่อน 3 เดือนในราคา 2,700 บาท หากพอใจค่อยเช่าต่อ จากบริการดังกล่าวพอยท์ เอเชียตั้งเป้าไว้ว่าจะมีสมาชิกเข้ามาใช้บริการในช่วงปีแรกประมาณ 1.5 แสนราย โดย 5 หมื่นเป็นกลุ่ม Point@Business 1 แสนเป็นกลุ่ม Point@Home โดยมีรายได้หลักมาจากค่าสมาชิกที่ต้องการมีโชว์เพื่อขายสินค้าเป็นหลัก Company Related Links : PointAsia

ที่มา :

ปริศนาอักษรไขว้

1. อุปกรณ์ที่ใช้แปลงสัญญาณระหว่างแอนะล็อคกับดิจิทัล
ตอบ =  Modem
2. ข้อเท็จจริงที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล
ตอบ =  Data
3. โปรแกรมเฉพาะที่ช่วยให้อุปกรณ์รับ/ส่งข้อมูลสามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ได้
ตอบ =  Device drivers
4. คอมพิวเตอร์มือถือที่ใช้แพร่หลายที่สุด
ตอบ =  PDA
5. บริการบนอินเทอร์เน็ตที่ช่วยให้เข้าถึงทรัพยากรต่างๆ โดยผ่านส่วนติดต่อแบบมัลติมีเดีย
ตอบ =  www
6. เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก?
ตอบ =  Internet
7. อุปกรณ์ทางกายภาพของไมโครคอมพิวเตอร์
ตอบ =  Hardware
8. ไฟล์ที่สร้างจากโปรแกรมประมวลผลคำ
ตอบ =  Document files
9. ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้วด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
ตอบ =  Information
10. กฎหรือแนวทางในการใช้ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์และข้อมูล
ตอบ =  Procedures
11. ชุดคำสั่งที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน
ตอบ =  Software
12. ผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ผลิตงานต่างๆ
ตอบ =  End user
13. ไมโครคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่ง
ตอบ =  Tablet pc
14. ส่วนที่ทำหน้าที่ประสานงานกับทรัพยากรต่างๆ ของคอมพิวเตอร์
ตอบ =  Operating system
15. ไฟล์ทีสร้างจากโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล
ตอบ =  Database Files
16. องค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของระบบสารสนเทศ
ตอบ =  People
17. อุปกรณ์ที่บรรจุด้วยชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมาก
ตอบ =  Chassis



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น