วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การประยุกต์ใช้ระบบไอซีที

1. งานด้านการศึกษา (Educational Applications)
2. งานด้านธุรกิจ (Business Applications)
3. งานด้านอุตสาหกรรมและการผลิต (Industrial and Manufaturing Applications)
4. งานด้านการสาธารณสุข (Public Health Applications)
5. งานด้านการสื่อสารโทรคมนาคม (Communication Applications)
6. งานด้านหน่วยงานราชการ (Government Applications)
7. งานด้านความบันเทิง (Entertainment Applications)

การแบ่งประเภทตามระดับการใช้งาน

1. ระบบประมวลผลธุรกรรม (Transaction Processing Systems : TPS)
       บางครั้งเรียกว่า "ระบบประมวลผลข้อมูล" (Data Processing System)  ซึ่่งเป็นระบบที่มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการข้อมูลพื้นฐาน โดยเน้นที่การประมวลผลธุรกรรมที่เกิดขึ้นประจำวันและการเก็บรักษาข้อมูล  ซึ่งการทำงานมักเกิดขึ้นในหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเท่านัีั้น เช่น ฝ่ายการเงิน ฝ่ายบัญชี ฝ่ายพัสดุ ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ และฝ่ายบริการลูกค้า เป็นต้น โดยแต่ละฝ่ายจะมีการประมวลผลข้อมูลที่แตกต่างกันและอาจจะแยกออกจากกัน โดยข้อมูลจะถูกป้อนเข้าสู่ระบบและทำการจัดเก็บอยู่ในระบบ และข้อมูลเหล่านั้นจะถูกแก้ไขระหว่างการประมวลผลรายการประจำวันจากนั้นผลลัพธ์จะถูกแสดงผลตามระยะเวลาที่กำหนด เช่น รายชื่อพนักงาน รายการสินค้า ใบสั่งซื้อ ใบสั่งจอง และรายการภาษี เป็นต้น องค์กรที่ใช้ระบบประมวลผลธุรกรรม เช่่น ธนาคาร โรงงานอุตสาหกรรม ห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ และสถาบันการศึกษา เป็นต้น
       การประมวลผลในระบบนี้จะแบ่งออกเป็น 2 แนวทาง คือการประมวลผลแบบกลุ่ม (Batch Processing) โดยข้อมูลรายการเปลี่ยนแปลงจะุถูกรวบรวมไว้ก่อนช่วงระยะเวลาหนึ่งและประมวลผลเป็นระยะ ๆ และการประมวลผลแบบทันที (Real Time Processing) หรือแบบเชื่อมตรง (Online) โดยข้อมูลจะถูกประมวลผลทันทีที่เกิดรายการนั้นเปลี่ยนแปลง เช่น ระบบการขายสินค้าปลีกหน้าร้าน (Point-of-Sale : POS) ในร้านค้าปลีกอาจใช้เครื่องปลายทาง (Terminal) แบบเครื่องเก็บเงินอิเล็กทรอนิกส์เพื่อจัดเก็บและส่งข้อมูลผ่านการสื่อสารที่เชื่อมโยงไปยังศูนย์คอมพิวเตอร์ ตัวอย่างการทำธุรกรรมเพื่อการจองตั๋วเครื่องบินแสดงได้ดังภาพที่ 1

2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System Systems : MIS)
ระบบนี้จะเป็นระบบซึ่งรวบรวมข้อมูลและสารสนเทศทั้งหมดในองค์กรและภายนอกโดยมีชุดโปรแกรมต่าง ๆ ที่จัดทำขึ้นเป็นพิเศษอย่างมีหลักเกณฑ์ จุดประสงค์ของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการจะเน้นให้ผู้บริหารมองเห็นแนวโน้มและภาพรวมขององค์กรในปัจจุบันรวมทั้งสามารถควบคุม และตรวจสอบผลงานของระดับปฏิบัติการด้วยขอบเขตของรายการที่ได้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการจะขึ้นอยู่กับลักษณะสารสนเทศและวัตถุประสงค์ในการใช้งาน โดยอาจมีรายงานตามสภาวการณ์ที่ผิดปกติ ตัวอย่างรายงานที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เช่น การวิเคราะห์การขายแยกตามพื้นที่ การวิเคราะห์ต้นทุน และงบประมาณประจำปี เป็นต้น ส่วนรายงานสารสนเทศในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ตัวอย่างเช่น
• รายงานที่นำข้อมูลมาจำแนกเป็นกลุ่ม
• รายงานข้อมูลในรูปแบบทั่วไปเพื่อการตรวจสอบความผิดปกติทั้งทางบวกและลบ
• รายงานแนวโน้มหรือข้อมูลในรูปสถิติ
• รายงานพยากรณ์เหตุการณ์หรือสิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคต
สารสนเทศควรมีการจัดเตรียมให้ผู้บริหารจะเป็นทั้งการแสดงผล (Display) และรายงาน (Report) โดยมีคุณสมบัติที่
1)ทันทีที่ต้องการ On Demand
2) ตามช่วงเวลาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า
3) เมื่อมีเงื่อนไขพิเศษที่เกิดขึ้น
ตัวอย่างเช่น ผู้จัดการขายสามารถ 1)ใช้เว็บบราวเซอร์เพื่อดูวีดีโอสารสนเทศเกี่ยวกับการขายสินค้าได้ทันทีที่สถานีงาน (Workstation) 2) เข้าถึงรายงานการวิเคราะห์ยอดขายรายสัปดาห์ ซึ่งประเมินผลการขายของแต่ละผลิตภัณฑ์รายชื่อพนักงานขายและรายการเขตการขาย หรือ 3) รับรายงานโดยอัติโนมัติเมื่อพนักงานขายทำยอดไม่ถึงเป้าหมายในเวลาที่กำหนด เป็นต้น
3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Dicision Support Systems : DSS)
ระบบนี้เป็นระบบสารสนเทศที่จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ที่ทำหน้าที่ตัดสินใจใช้ประกอบการตัดสินใจดังนั้นควรเป็นระบบที่ง่ายต่อการเรียกใช้และการโต้ตอบหรือมีปฏิสัมพันธ์ Interactive ทั้งนี้เนื่องเพราะผู้บริหารระดับกลางขึ้นไปคุ้นเคยและจำเป็นต้องใช้การตัดสินใจบนประสบการณ์ต่อสิ่งที่เกิดขั้น ทั้งที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ ระบบนี้จึงเป็นระบบที่มีการผสมผสานสารสนเทศที่มีอยู่ หรือเรียกใช้จากระบบไอซีทีที่อื่น ๆ นำมาเปรียบเทียบ คำนวณ วิเคราะห์ และพยากรณ์ โดยนำเสนอในรูปของกราฟิก แผนงานหรือแม้แต่ “ระบบปัญญาประดิษฐ์” (Artificail Intelligence) เพื่อให้เกิดความสะดวกในการใช้สารสนเทศสำหรับผู้ทำการตัดสินใจจะได้รับการออกแบบเพื่อให้สนับสนุนการตัดสินใจหลายด้านพร้อมกัน ดังนั้นข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องภายในองค์กรจึงต้องได้รับการจัดระบบใหม่ เพื่อให้สามารถแสดงความเกี่ยวข้องของข้อมูลอย่างชัดเจนและสามารถเรียกใช้ได้ทันที
4. ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร (Executive Information Systems : EIS)
เป็นระบบที่สร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนสารสนเทศและการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะ โดยใช้หลักการและวิธีการเดียวกับระบบสนับสนุนการตัดสินใจ แต่พัฒนาขึ้นมาเพื่อรองรับงานในองค์กรขนาดใหญ่ที่มีระบบ การตัดสินใจที่ซับซ้อนต้องการความแม่นยำและรวดเร็วในการตัดสินใจ จากสภาวะหรือผลกระทบภายนอกองค์กร รายงานระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารที่ดีและมีประสิทธิภาพควรสร้างให้ต่อเนื่องกับระบบประมวลผลทางธุรกรรมที่เข้ามาสู่ระบบ ดังนั้นผู้บริหารขององค์กรบางแห่งจึงต้องการให้จัดทำข้อมูล EIS ใช้งานเอง ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูงจะใช้ข้อมูล 3 แหล่ง คือ
(1) ข้อมูลภายในองค์กร ได้แก่ งบประมาณประจำปี แผนรายรับ-รายจ่าย และแผนการเงินการคลัง เป็นต้น
(2) ข้อมูลภายนอกองค์กร ได้แก่ ตลาดทุน ตลาดหุ้น และรายงานจากสำนักข่าวต่างประเทศ เป็นต้น
(3) ข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลรายการประจำวัน แล้วนำมาเปรียบเทียบ คำนวณ วิเคราะห์ คาดการณ์ และยังสามารถแสดงแนวโน้มหรือคาดคะเนเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต
5. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems : ES)
เป็นระบบที่มีลักษณะคล้ายระบบสารสนเทศประเภทอื่น คือ เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยผู้บริหารแก้ปัญหาหรือสนับสนุนการตัดสินใจ โดยจะแตกต่างจากระบบสารสนเทศประเภทอื่นตรงที่ใช้หลักการทำงานด้วยปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้มากกว่าการจัดการสารสนเทศ ระบบผู้เชี่ยวชาญเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเลียนแบบขั้นอตนและวิธีการในการคิดวิเคราะห์ เพื่อใช้แก้ปัญหาโดยผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ ระบบผู้เชี่ยวชาญจะสามารถนำไปใช้ในขั้นตอนการให้คำปรึกษาหรือสนับสนุนการแก้ปัญหาที่ยุ่งยากและซับซ้อน ณ สถานการณ์ใด ๆ ได้ โดยระบบผู้เชี่ยวชาญจะเลือกเฉพาะสาขาหรือเฉพาะด้านที่ขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญ
การสร้างระบบผู้เชี่ยวชาญต้องการข้อมูลจำนวนมากจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านนั้น ๆ เพื่อเก็บข้อมูลอย่างละเอียดลงในฐานข้อมูลที่เรียกว่า “ฐานความรู้” จากนั้นกลไกการวินิจฉัยซึ่งเปรียบได้กับสมองของระบบจะตรวจสอบข้อมูลที่มีอยู่ในฐานความรู้และเลือกข้อมูลที่ถูกต้องเหมาะสมที่สุดด้วยวิธีการในการคิดหาคำตอบอย่างมีเหตุผล และเป็นขั้นตอน พร้อมกับต้องมีส่วนของการติดต่อกับผู้ใช้ที่มีความสะดวกเพื่อให้เกิดความพึงพอใจและใช้งานระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ