วันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2553

บทที่ 4 ต่อ

บทที่ 4 ต่อ
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
เกิดจากการสื่อสารข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้น โดยในการเชื่อมต่อนั้นประสิทธิภาพของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่างๆ ดังนี้
1.  จำนวนของเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในเครือข่าย
2.  สื่อนำข้อมูล
3.  เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
4.  โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล

โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Topology)
โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถจำแนกตามลักษณะของการการเชื่อมต่อได้ดังต่อไปนี้
1.  โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบบัส (Bus Topology)
2.  โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน (Ring Topology)
3.  โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว (Star Topology)
4.  โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเมช (Mesh Topology)
5.  โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบผสม (Hybird Topology)

ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์
-  เซิร์ฟเวอร์(Server)  เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการต่างๆโดยแต่ละเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถมีเครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ได้หลายเครื่องตามความต้องการชนิดของเครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์มีดังนี้
- ไฟล์เซิฟเวอร์ (File Server)  ทำหน้าที่ให้บริการแฟ้มข้อมูลแก่เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ  ซึ่งสามารถเรียกใช้แฟ้มงานต่างๆ จากเซิร์ฟเวอร์ได้
-  ดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ (Database Server)  ทำหน้าที่ให้บริการฐานข้อมูลแก่เครื่องคอมพิวเตอร์ภายในเครือข่าย
-  พรินต์เซิร์ฟเวอร์ (Print Server)  ทำหน้าที่ให้บริการเครื่องพิมพ์ในการพิมพ์เอกสารต่างๆ
-  อินเทอร์เน็ตเซิร์ฟเวอร์ (Internet Server)  เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถติดต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้และทำหน้าที่ให้บริการแก่เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในการใช้อินเตอร์เน็ต
-  เว็ปเซิร์ฟเวอร์ (Web Server)  ทำหน้าที่เก็บข้อมูลเว็บไซต์ และเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นต้องการเรียกดูข้อมูลจากเว็บไซต์เหล่านั้น เว็บเซิร์ฟจะทำหน้าที่ส่งข้อมูลเหล่านั้นไปให้
-  เมลเซิร์ฟเวอร์ (Mail Server)  ทำหน้าที่เก็บจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mails หรือ E-Mail)
-  ระบบโดเมนเนม (Domain Name System Server)  ทำหน้าที่เก็บชื่อโดเมน และแปลชื่อโดเมนให้เป็นอีแอดเดรส (IP Address)

- เวิร์กสเตชั่น (Workstation)  เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วๆ ไปที่สามารถทำการประมวลผลข้อมูลต่างๆ
-  ไคลเอนต์ (Client)  เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีการเรียกใช้ข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์
-  เทอร์มินัล (Terminal)  เป็นอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยจอภาพ แป้นพิมพ์ และอุปกรณ์อื่นๆ เทอร์มินัลไม่สามารถประมวลผลข้อมูลได้ด้วยตนเองแต่ใช้การสื่อสารข้อมูลกับเซิร์ฟเวอร์และให้เซิร์ฟเวอร์ทำการประมวลผลข้อมูลพร้อมทั้งส่งข้อมูลมาปรากฏบนจอภาพ

รูปแบบการประมวลผลข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computing Architecture)
-  การประมวลผลข้อมูลที่ศูนย์กลาง (Centralized Processing)
-  การประมวลผลข้อมูลแบบไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์

ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
- Personal Area Network (PAN) เครือข่ายส่วนบุคคล เป็นเครือข่ายสำหรับการแลกเปลี่ยนสารสนเทศและบริการตลอดจนการใช้งานอุปกรณ์ร่วมกัน เช่น เทคโนโลยี บลูทูธ     
-  Local Area Network (LAN)  เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบท้องถิ่น ระยะทางการเชื่อมต่อประมาณไม่เกิน 10 กิโลเมตร มีความเร็วในการแลกเปลี่ยนข้อมูลประมาณ 10-100 Mbps
-  Metropolitan Area Network (MAN)  เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ อาจครอบคุมพื้นที่ทั้งตำบลหรืออำเภอ
-  Wide Area Network (WAN)  เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มาก ภายในเครือข่ายประกอบไปด้วยเครือข่ายแลล Lan และ Man พื้นที่ของเครือข่ายแบบนี้ สามารถครอบคลุมได้ทั้งประเทศ หรือทั่วโลก
กรณีศึกษาบทที่ 4
การใช้เครือข่าวไร้สายของบริษัทเฮิร์ตซ์ (Hertz)

1.  จากการประยุกต์ใช้เครือข่ายไร้สายของบริษัทเฮิร์ตซ์ที่ได้กล่าวข้างต้น แอปพลิเคชั่นที่ประยุกต์เพื่อใช้งานธุรกิจภายในองค์การมีอะไรบ้าง และมีแอปพลิเคชันใดบ้างที่เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง
ตอบ =  1.   การให้บริการเช่ารถยนต์ด้วยความรวดเร็ว
            2.   การคืนรถยนต์อัตโนมัติ
3.   บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่
4.   การตรวจสอบเส้นทางเดิน
5.   บริการเสริมสำหรับลูกค้า
6.   การตรวจสอบตำแหน่ง
แอปพลิเคชันที่เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลางคือ บริการเสริมต่างๆ สำหรับลูกค้าไม่ว่าจะเป็นการให้บริการดาว์นโหลดข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน แผนที่แหล่งช้อปปิ้ง ตลอดจนร้านค้า โรงแรม และแหล่งบันเทิงต่างๆ ผ่านทางเครื่องพีดีเอ

2.  ประโยชน์อะไรบ้างที่เฮิร์ตซ์ได้รับจากการตรวจสอบตำแหน่งของรถเช่า และในฐานะที่ท่านเป็นผู้เช่ารถ ท่านมีความเห็นอย่างไรบ้างเกี่ยวกับการดำเนินการในลักษณะนี้
ตอบ =  ช่วยให้บริษัทตรวจสอบได้ว่ารถยนต์ ขณะนี้อยู่ที่ใด ขับด้วยความเร็วเท่าใด และในฐานะที่ เป็นผู้เช่ามีความเห็นว่าเป็นการละเมิดความเป็นส่วนตัวมากเกินไป

กรณีศึกษาบทที่ 4
การใช้ RIFD ในห่วงโซ่อุปทานของยา

1.  ท่านคิดว่า RIFD มีข้อได้เปรียบกว่าบาร์โค้ดอย่างไรบ้าง
ตอบ =  สามารถตรวจสอบยาต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและง่ายกว่าบาร์โค้ดเนื่องจากการใช้ RIFD นั้นสามารถระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุโดยการสแกนผ่านรูปทรงของวัตถุได้เลย แต่ในส่วนของบาร์โค้ดนั้นต้องนำที่สแกนไปสแกนให้ตรงกับตำแหน่งที่ติดตั้งฉลากบาร์โค้ดจึงจะสามารถสแกนข้อมูลของยาได้ดังนั้นการใช้บาร์โค้ดจึงทำให้เป็นการเสียเวลามากกว่า

2.  จงยกตัวอย่างการนำเทคโนโลยี RFID ไปประยุกต์ใช้ในธุรกิจต่างๆ มา 3 ตัวอย่าง
ตอบ =  1.  ร้านรองเท้า
            2.  ร้านเครื่องเขียน
            3.  ห้างสรรพสินค้า

3.  ท่านคิดว่าข้อจำกัดของการนำ RFID ไปใช้ในงานธุรกิจมีอะไรบ้าง
ตอบ =  การติดตั้งระบบค่อนข้างมีราคาแพงอาจไม่คุ้มทุนนะถ้าหากว่าธุรกิจมีขนาดไม่ใหญ่ และ การดูแลระบบอาจเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความชำนาญเป็นพิเศษ ซึ่งอาจจะต้องจ้างผู้ตรวจสอบระบบเพิ่มต่างหากทำให้เป็นการเพิ่มภาระต้นทุนให้กับธุรกิจ

คำถามท้ายบทที่ 4

1.  จงอธิบายความหมายของคำต่อไปนี้
ตอบ =  1. โปรโตคอล กฏหรือวิธีที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการสื่อสารข้อมูล
2  การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (EDI) เป็นระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างองค์การ โดยใช้แบบฟอร์มของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีรูปแบบมาตรฐานสากล
3.  บลูทูธ เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สายระยะสั้นไม่เกิน 10 เมตรโดยใช้คลื่นวิทยุในการส่งข้อมูล

2.  จากรูปที่กำหนดให้ จงอธิบายเปรียบเทียบมาตรฐานการสื่อสารและเครือข่าย การนำไปใช้งานระหว่าง  PAN,  LAN,  WLAN  และ WWAN
ตอบ =  1.  PAN   เป็นเครือข่ายส่วนบุคคล  สำหรับการแลกเปลี่ยนสารสนเทศและบริการตลอดจนการใช้งานอุปกรณ์ร่วมกัน เทคโนโลยีที่นำมาใช้เช่น บลูทูธ
2.  LAN   เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบท้องถิ่น  ระยะทางไม่เกิน 10 กิโลเมตร ความเร็วในการแลกเปลี่ยนข้อมูลประมาณ 10-100 Mbps สื่อที่ใช่มักเป็นสายสัญญาณ
3.  WLAN  เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ท้องถิ่นแบบไร้สาย เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายระยะใกล้โดยไม่มีการเดินสายสัญญาณ
4.  WWAN  เป็นเครือข่ายไร้สายขนาดใหญ่ครอบคลุมได้ทั้งประเทศ หรือทั่วโลก

3.  จงยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารและเครือข่ายที่ยังไม่ได้กล่าวถึงในบทนี้มา
ตอบ =  1.  โทรศัพท์มือถือ
2.  วิทยุสื่อสาร (WalkyTalky)
3.  สถานีวิทยุและโทรทัศน์

4.  ไวแม็กซ์ต่างจากไวไฟอย่างไรจงอธิบาย
ตอบ =  ไวแม็กซ์เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สารระดับบรอดแบรนด์บนมาตรฐาน IEEE 802.16 สามารถส่งข้อมูลได้กว้างประมาณ 50 กิโลเมตร ส่วนไวไฟเป็นเทคโนโลยีอินเทอเน็ตไร้สายความเร็วสูงใช้สัญญาณวิทยุในการับส่งข้อมูลแต่มีความสามารถในการส่งข้อมูลจากจุดแอกเซสพอยท์ หรือจุดรับข้อมูลใกล้กว่าไวแม็กซ์

5.  จงอธิบายแนวทางการประยุกต์ใช้เครือข่ายส่วนบุคคลไร้สาย (Wireless PAN หรือ WPAN) ที่บ้าน และท่านจะใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อะไรบ้างในการเชื่อมต่อกับเครือข่ายนี้
ตอบ =  เมื่อนำระบบ WPAN มาใช้ที่บ้านก็จะประยุกต์ไปใช้ในเรื่องของการสั่งพิมพ์งานเอกสารต่างๆ ออกทางเครื่องพิมพ์ทำให้เวลาพิมพ์งานนั้นสะดวกรวดเร็วและไม่ต้องมีสายต่อพ่วงอุปกรณ์ต่างๆ ให้เกะกะ โดยอุปกรณ์ที่ใช้ก็มี เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีบลูทูธ เครื่องพิมพ์ที่รองรับระบบบลูทูธ

6.  จงยกตัวอย่างแนวโน้มของเทคโนโลยีการสื่อสารและเครือข่ายมา 2 ตัวอย่าง
ตอบ = 1. เทคโนโลยีการสื่อสารและเครือข่ายในอนาคตจะเปลี่ยนเป็นการสื่อสารแบบไร้สายมากขึ้นเนื่องจากงานต่อการติดตั้งและดูแลรักษาทำได้ง่ายกว่าแบบมีสายสัญญาณ
           2. จะมีการคิดค้นหรือปรับปรุงเทคโนโลยีการสื่อสารและระบบเครือข่ายที่มีความสามารถในการสื่อสารข้อมูลที่มีความเร็วมากยิ่งขึ้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น