วันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2553

บทที่ 12 ต่อ


Phase 6  การบำรุงรักษาระบบ (System Maintenance)
            เป็นขั้นตอนการดูและระบบเพื่อให้ระบบมีประสิทธิภาพในการทำงานโดยบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมีหน้าที่ในส่วนนี้
การบำรุงรักษาระบบแบ่งได้ 4 ประเภท
-     Corrective Maintenance เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดของระบบ
-     Adaptive Maintenance  เพื่อให้ระบบสามารถรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น
-     Perfective Maintenance  เพื่อบำรุงรักษาระบบให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-     Preventive Maintenance  เพื่อบำรุงรักษาระบบป้องกันข้อผิดพลาดที่จะเกิด

วิธีการพัฒนาระบบสารสนเทศ
1)  การพัฒนาระบบงานแบบดั้งเดิม (Traditional SDLC Methodology) เป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศตามวงจรการพัฒนาระบบที่มีขั้นตอนที่แน่นอน วิธีนี้เป็นวิธีเก่าแก่ที่สุดและนิยมเรียกย่อๆ ว่า SDLC
2)  การสร้างต้นแบบ (Prototyping) เป็นการสร้างระบบต้นแบบขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้ทดลองใช้งานซึ่งนอกจากผู้ใช้จะได้แนวคิดเกี่ยวกับสารสนเทศที่ต้องการแล้วยังช่วยให้มองเห็นภาพของระบบที่จะพัฒนาได้ชัดเจนขึ้น
การพัฒนาระบบโดยใช้ตนแบบแบงออกเป็น 4 ขั้นตอน
ขั้นที่ 1 :  ระบุความต้องการเบื้องต้นของผู้ใช้
ขั้นที่ 2 :  พัฒนาต้นแบบเริ่มแรก
ขั้นที่ 3 :  นำต้นแบบมาใช้
ขั้นที่ 4 :  ปรับปรุงแก้ไขต้นแบบ
3)  การพัฒนาระบบโดยผู้ใช้ (End-user Development)
4)  การใช้บริการจากแหล่งภายนอก (Outsourcing) เนื่องจากองค์การไม่มีบุคลากรที่มีทักษะความชำนาญ การจ้างหน่วยงานหรือบริษัทภายนอกที่มีความชำนาญด้านนี้มาทำการพัฒนาระบบให้ ซึ่งการทำสัญญาจ้างให้หน่วยงานภายนอกมาทำงานเกี่ยวกับการดำเนินงานของฝ่ายคอมพิวเตอร์นี้เรียกว่า IT Outsourcing ในที่นี้จะเรียกสั้นๆ ว่า Outsourcing
5)  การใช้ซอฟแวร์สำเร็จรูปประยุกต์ (Application Software Package) เป็นทางเลือกหนึ่งในการพัฒนา เช่น ระบบงานเงินเดือน ระบบบัญชีลูกหนี้ หรือระบบควบคุมสินค้าคลคลัง หากซอฟต์แวร์สำเร็จรูปสามารถสนองต่อความต้องการระบบงานขององค์การได้ องค์การก้ไม่จำเป็นต้องพัฒนาขึ้นเอง เนื่องจากโปรแกรมสำเร็จรูปได้รับการออกแบบและผ่านการทดสอบแล้ว จึงช่วยลดค่าใช่จ่ายและเวลาในการพัฒนาระบบใหม่และยังช่วยให้การทดสอบ การติดตั้ง และการบำรุงรักษาระบบเป็นไปได้ง่ายขึ้น

การพัฒนาระบบแบบออบเจ็กต์ (Object-Oriented Methodology)
            ประกอบด้วยกลุ่มของวัตถุ (Class of Objects) ซึ่งทำงานร่วมกัน มีการจัดกลุ่มของข้อมูลและพฤติกรรมหรือฟังก์ชันที่กระทำกับข้อมูลนั้นเป็นกลุ่มๆ ในรูปของออบเจ็กต์ เนื่องจากออบเจ็กต์มีคุณสมบัติในการนำกลับมาใช้ใหม่ได้ (Reusability) การพัฒนาโปรแกรมแบบออบเจ็กต์จึงใช้เวลาในการพัฒนาน้อยกว่าวิธีอื่น

การพัฒนาระบบงานประยุกต์แบบรวดเร็ว (Rapid Application Development) เป็นขั้นตอนในการพัฒนาระบบที่ใช้ระยะเวลาในการพัฒนารวดเร็วกว่าและคุณภาพดีกว่าวิธีพัฒนาระบบงานแบบดั้งเดิม  โดยมีการนำเครื่องมือซอฟต์แวร์มาช่วยในการพัฒนาระบบซึ่งมีขั้นตอนในการพัฒนาระบบอยู่ 4 ขั้นตอนคือ
1)  การกำหนดความต้องการ
2)  การออกแบบโดยผู้ใช้
3)  การสร้างระบบ
4)  การเปลี่ยนระบบหรือใช้ระบบ

ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาระบบสารสนเทศให้ประสบความสำเร็จ
1)  การสนับสนุนจากฝ่ายบริหาร
2)  การกำหนดขอบเขตและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน
3)  ความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ของทีมพัฒนาระบบ
4)  การเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
5)  การบริหารโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

กรณีศึกษาบทที่ 12
ระบบติดตามอากาศยานของวิทยุการบินแห่งประเทศไทย
(Aircraft Surveillance System)

1. วิธีการพัฒนาระบบสารสนเทศมีหลายวิธีด้วยกัน ในกรณีของระบบติดตามอากาศยานข้างต้นมีความเกี่ยวข้องกับการให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศ ซึ่งเป็นภารกิจหลักของวิทยุการบินฯ ท่านคิดว่าควรเลือกใช้วิธีหรือแนวทางใดเพื่อให้ได้มาซึ่งระบบดังกล่าว
ตอบ =  ความต้องการของท่าอากาศยานมีความต้องการระบบที่มีความทันสมัย และต้องการข้อมูลที่ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด ระบบต้องเป็นระบบที่มีความสามารถเฉพาะด้าน และมีขนาดใหญ่ซับซ้อน จากขั้นต้นการพัฒาระบบงานแบบรวดเร็ว (Rapid Application Development : RAD) จึงเหมาะสมที่สุดในการนำมาใช้ เพราะ ระบบพัฒนานี้สนับสนุนระบบที่มีขนาดใหญ่และซับซ้อนอีกทั้งให้ผู้ใช้นั้นได้มีส่วนรวมในการออกแบบระบบ และระยะเวลาในการพัฒนามีความรวดเร็วและคุณภาพดี อีกทั้งมีการนำซอฟต์แวร์มาช่วยในการพัฒนา

2. ระบบติดตามอากาศยานมีความสำคัญต่อวิทยุการบินฯ อย่างไร และเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศจะได้รับผลกระทบจากการนำระบบนี้มาใช้หรือไม่ จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ =  มีความสำคัญโดยการทำให้เที่ยวบินต่างๆ เป็นไปอย่างราบรื่น และลดการล่าช้า ตลอดจนอำนวยความสะดวกแก่สายการบินนานาชาติ และเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศไม่ได้รับผลกระทบต่อระบบที่นำมาใช้  เพราะการนำระบบเข้ามาใช้ช่วยให้เจ้าาหน้าที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการลดอุบัติเหตุ และการล่าช้าของอากาศยาน รวมถึงการลดภาระการทำงานของเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศ


บทที่ 12 ต่อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น