วันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2553

บทที่ 3 ต่อ

บทที่ 3 ต่อ

การวิเคราะห์ข้อมูลหลายมิติและการค้นหาความรู้ในคลังข้อมูล
            มี 2 ประเภท
1.  การประมวลผลเชิงวิเคราะห์แบบออนไลน์ (OLAP)  เป็นเครื่องมือที่สามารถในการค้นหาและวิเคราะห์ข้อมูลจากคลังข้อมูลเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็ว
2.  ดาต้าไมนิ่ง (Data Mining) เป็นเครื่องมือและเทคนิคในการสกัด (Extract) ข้อมูลและประมวลผลข้อมูลในเชิงวิเคราะห์ขั้นสูงจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ โดยสามารถค้นหารูปแบบ แนวโน้ม พฤติกรรม และความสัมพันธ์ที่ซ้อนเร้นอยู่ภายในข้อมูลเพื่อให้ความรู้ใหม่ๆ

ความแตกต่างระหว่างคลังข้อมูลกับฐานข้อมูลปฏิบัติการ
            ฐานข้อมูลปฏิบัติการ (Operational Database) เป็นระบบที่นำมาช่วยในการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลรายการธุรกรรมจาการดำเนินงานประจำวัน ซึ่งแหล่งข้อมูลเหล่านี้นับวันจะเพิ่มปริมาณมากขึ้น จึงจำเป็นต้องจัดเก็บข้อมูลในอดีตลงในสื่อบันทักข้อมูลที่แยกเก็บต่างหาร เช่น จัดเก็บในเทป หรือ ดิสก์ที่มีความจุสูง
            คลังข้อมูล เป็นแหล่งเก็บข้อมูลรวมข้ององค์การ ที่ได้รับการออกแบบมาให้มีความเรียบง่ายต่อการค้นหาและเรียกใช้ได้อย่างรวดเร็ว สามารถรองรับการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีปริมาณมาก โดยข้อมูลมีการจัดเก็บในลักษณะที่รวบรวมจัดเก็บเป็นระเบียบตามเนื้อหา และแปรผันตามเวลา ซึ่งข้อมูลในคลังข้อมูลไม่สามารถซ้ำซ้อนได้ นำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานให้กับระบบงานเพื่อการบริหารอื่นๆ

กรณีศึกษาบทที่ 3
ระบบข้อมูลของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

1.  ฐานข้อมูลกลางของคนไข้ที่โรงพยาบาลจัดเก็บสามารถนำมาวิเคราะห์โดยใช้ดาด้าไมนิ่งได้อย่างไรบ้าง
ตอบ    1.    สามารถนำมาวิเคราะห์อาการของคนไข้ว่าอยู่ในระดับใด
2.     ทำให้การวินิจฉัยคนไข้ทำได้ถูกต้องแม่นยำและมีความรวดเร็ว
3.     สามารถนำข้อมูลการรักษาต่างๆ มาจัดทำเป็นแผนป้องกัน และเผยแพร่ความรู้ในโรคที่กำลังจะระบาด
4.     สามารถวินิจฉัยเกี่ยวกับโรคที่จะเกิดขึ้นมาใหม่ในอนาคตได้โดยดูได้จากประวัติการดื้อยาของคนไข้

2.  หากโรงพยาบาลต้องการพัฒนาระบบให้เป็น Web Service ท่านคิดว่าระบบควรมีความสามารถในการให้บริการด้านใดบ้าง
ตอบ    1.    สามารถจองคิวรักษาตลอดจนถึงการจองห้องพักล่วงหน้าได้
2.     สามารถตรวจเช็คว่าในโรงพยาบาลมีแพทย์เฉพาะทางหรือไม่
3.     สามารถตรวจสอบราคาของค่าบริการ ค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้
4.     สามารถตรวจสอบได้ว่ามีบริษัทประกันสุขภาพใดบ้างที่สามารถใช้บริการได้ในโรงพยาบาลนี้
5.     สามารถตรวจสอบได้ว่าโรงพยาบาลมีการให้บริการด้านใดบ้าง
6.     ให้บริการดาวโหลดแผนที่ตำแหน่งต่างๆ ภายใน      โรงพยาบาล
7.     นำระบบเว็บแคมมาประยุกต์ใช้สำหรับการเยี่ยมคนไข้ในโรงพยาบาลในกรณีที่ญาติผู้ป่วยต้องการเยี่ยมคนไข้แต่ไม่สะดวกที่จะมาที่โรงพยาบาล

คำถาท้ายบทบทที่ 3

1.  จากภาพที่กำหนดให้ จงอธิบายความหมายของคำต่อไปนี้ พร้อมยกตัวอย่าง
1.1  ฐานข้อมูล (database) ที่เก็บรวบรวมแฟ้มข้อมูลต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กันไว้ด้วยกัน โดยมีระบบการจัดการข้อมูลช่วยในการจัดเก็บและเรียกใช้ข้อมูล ทำให้เกิดสารสนเทศที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อองค์กรได้
1.2  คลังข้อมูล (Data Warehouse)  คือที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่งและหลากหลายชนิด เข้าด้วยกัน เป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ขององค์การ โดยข้อมูลในคลังข้อมูลอาจได้มาจากฐานข้อมูลของระบบปฏิบัติการในองค์การ และฐานข้อมูลจากแห่งภายนอกองค์การ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะได้รับการเลือก, กลั่นกรอง และปรับแก้ไขทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
1.3  ดาต้ามาร์ท (Data Mart) คือคลังข้อมูลขนาดเล็กที่มีลักษณะเจาะจง สำหรับใช้ในองค์การธุรกิจ มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าคลังข้อมูล และการจัดทำข้อมูลดาต้ามาร์ท ใช้เวลาที่สั้นกว่าคลังข้อมูล และการนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจภายในหน่วยงาน สะดวกกว่าการใช้คลังข้อมูล
1.4  ดาต้าไมนิ่ง (Data Mining) เป็นเทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถกลั่นกรอง วิเคราะห์ข้อมูลที่มีปริมาณมหาศาลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีประโยชน์หรือได้ข้อมูลที่ซ่อนเร้นอยู่ในข้อมูลที่มีปริมาณมหาศาล และนำข้อมูลที่มีประโยชน์มาใช้เป็นฐานความรู้เพื่อช่วยในการบริหารงาน
1.5  การประมวลผลเชิงวิเคราะห์แบบออนไลน์ (OLAP) เป็นเครื่องมือที่มีความสามารถในการค้นหารและวิเคราะห์ข้อมูลจากคลังข้อมูลเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็ว โดยสามารถใช้ OLAP ในการวิเคราะห์ข้อมูลในลักษณะต่างๆ เช่น การหมุนมิติ, การเลือกช่วงข้อมูล, การเลือกลำดับชั้นของข้อมูล
1.6  จากภาพที่กำหนด A, B และ C ให้ จงระบุและอธิบายว่า A, B และ C หมายถึงสิ่งใด
A  = คลังข้อมูล (Data Warehouse)  คือที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่งและหลากหลายชนิดเข้าด้วยกัน
B = ดาต้ามาร์ท (Data Mart) คือ คลังข้อมูลขนาดเล็กที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงและใช้สำหรับองค์การธุรกิจ
C = ดาต้าไมนิ่ง (Data Mining) คือเครื่องมือในการสกัดข้อมูลและประมวลผลในเชิงวิเคราะห์ขั้นสูงจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่

2.  จงอธิบายถึงประโยชน์ของคลังข้อมูลที่มีต่อพนักงานปฏิบัติการขององค์การ
            -  ช่วยลดปริมาณในการจัดเก็บข้อมูล
            -  ช่วยลดการซ้ำซ้อนของข้อมูลในการจัดเก็บ
-  ช่วยในการค้นหาข้อมูลได้ง่ายและนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
-  ช่วยในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
-  การนำข้อมูลที่ต้องนำไปประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว

3.  ธุรกิจอัจฉริยะ หรือ Business Intelligence คืออะไร และมีการนำไปใช้งานอะไร
            คือ การใช้ข้อมูลขององค์การที่มีคุณค่ามาช่วยสนับสนุนการตัดสินใจในการดำเนินงานของธุรกิจ ซึ่งโดยทั่วไปจะเกี่ยวข้องกับการเข้าใช้งานข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการค้นพบโอกาสใหม่ๆ ในการดำเนินการทางธุรกิจ
            การนำไปใช้ ได้แก่
            -  การจัดทำประวัติของลูกค้า
-  การประเมินถึงสภาพของตลาด
-  การจัดกลุ่มของตลาด
- การจัดลำดับทางด้านเครดิต
-  การเพิ่มความสามารถในกรทำกำไรของผลิตภัณฑ์
-  การจัดการความเคลื่อนไหวของสินค้าคงคลัง

4.  จงยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้ดาต้าไมนิ่งในธุรกิจอื่นๆ ที่ยังไม่ได้กล่าวถึงในบทนี้มาอย่างน้อย 3 ตัวอย่าง
ธุรกิจโทรคมนาคม
-  วิเคราะห์การใช้สื่อโทรคมนาคมของประชาชน
-  ทำนายการพัฒนาของอุปกรณ์สื่อสารในอนาคต
-  การวิเคราะห์และพัฒนาหารูปแบบใหม่ๆ ในการให้บริการ
ธุรกิจรักษาความปลอดภัย          
-  วิเคราะห์แนวโน้มการก่ออาชญากรรมพื้นที่ต่างๆที่อาจเกิดขึ้น
            -  สามารถวิเคราะห์ความประพฤติและพฤติกรรมของแต่ละชุมชนที่ให้บริการ
            - วิเคราะห์ถึงระบบการรักษาความปลอดภัยในเขตชุมชนต่างๆ
            -  วิเคราะห์และจัดสรรบุคคลกรที่เหมาะสมในการให้บริการแต่ละพื้นที่
ธุรกิจให้การศึกษาต่างๆ
            -  สามารถวิเคราะห์ถึงแนวโน้มการศึกษาในอนาคต
            -  สามารถนำมาปรับเปลี่ยนการให้ความรู้แก่นักศึกษาในแนวทางที่เกิดขึ้นในอนาคต (การศึกษาแผนใหม่)
            - วิเคราะห์และพัฒนาบุคลากรในสถานศึกษาให้มีคุณภาพระดับแนวหน้า

5.  จากปัญหาของแฟ้มข้อมูลที่ได้กล่าวในตอนต้นของบทนี้ ท่านคิดว่าคลังข้อมูลและดาต้าไมนิ่งช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างไรบ้าง
คลังข้อมูลมีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่งและหลากหลายชนิด เข้าด้วยกัน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะได้รับการเลือก, กลั่นกรอง และปรับแก้ไขทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และยังมีดาต้าไมนิ่งซึ่งช่วยในการ ประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลให้เกิดความรู้ใหม่ๆจึงส่งผลให้มีความคล่องตัวในการใช้ลดความช้ำซ้อนของข้อมูล, มีความเป็นอิสระของข้อมูล, สนับสนุนการใช้งานร่วมกัน, มีความคล่องตัวในการใช้งานและ มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น