วันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2553

บทที่ 11 ต่อ

บทที่ 11 ต่อ

ปัจจัยในการพิจารณาตัดสินใจเลือกซอฟต์แวร์ ERP
1.  การพิจารณาว่าจะใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปหรือไม่
                 -  หากมี ERP มาตรฐานในตลาดรองรับก็ไม่จำเป็นต้องพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นเอง
                 -  การเลือกใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปเพราะการพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมาเองนั้นจะมีค่าใช้จ่ายในการพัฒนาและบำรุงรักษาสูง ควบคุมงบประมาณค่อนข้างยาก
2.  ฟังก์ชันของ ERP สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และความต้องการ ในการนำมาใช้งานขององค์การ
                 -  ฟังก์ชันของระบบ ERP ที่เลือกจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และความต้องการในการนำมาใช้
                 -  องค์การสามารถเลือกชมการสาธิตหรือทดสอบความสามารถในการทำงานตามหน้าที่ต่างๆ ของซอฟต์แวร์ก่อน
3.  ความยืดหยุ่นในการปรับแก้ซอฟต์แวร์
                 -  ระบบ ERP จะต้องมีความยืดหยุ่นและสามารถปรับแต่งได้เพื่อให้ตรงกับความต้องการขององค์การ
                 -  การปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขควรจะสามารถทำได้ง่ายอย่างมีประสิทธิภาพและเมื่อแก้ไขแล้วควรสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงซอฟต์แวร์ในรุ่น (Version) ใหม่ด้วย
                 -  การปรับซอฟต์แวร์ที่มากเกินไปจะทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงและใช้เวลาเพิ่มขึ้น
4.  ต้นทุนในการเป็นเจ้าของระบบ ERP
                 -  ซอฟต์แวร์ ERP แต่ละตัวมีจุดเด่นและค่าใช้จ่ายในการลงทุนไม่เท่ากัน องค์การควรคำนึงถึงความเหมาะสมและเปรียบเทียบผลประโยชน์ที่ได้รับกับต้นทุนทั้งหมดทั้งที่เป็นต้นทุนระยะสั้น และระยะยาว
5.  การบำรุงรักษาระบบ
                 -  สร้างบุคลากรเพ่อทำหน้าที่ในการดูแลบำรุงรักษาระบบให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                 -  ในกรณีบุคลากรขององค์การไม่สามารถบำรุงรักษาระบบได้เองและจำเป็นต้องให้บุคคลหรือหน่วยงานภายนอกดำเนินการในส่วนนี้แทน
6.  รองรับการทำงานหรือเทคโนโลยีในอนาคต
                 -  องค์ควรพิจารณาซอฟต์แวร์ที่มีการเตรียมการสำหรับการเชื่อต่อกบระบบภายนอกได้ง่าย
7.  ความสามารถของผู้ขายซอฟต์แวร์
                 -  ประเมินความสามารถและศักยภาพของผุ้ขายโดยครอบคลุมด้านบริการหลังการขาย
                 -  สถานการณ์เงินและความเชื่อถือได้ของผลงาน
                 -  ผู้ขายหรือตัวแทนขายจะต้องได้รับสิทธิในการแก้ไขซอฟต์แวร์และมีซอสโค้ด (Source Code) ด้วย

ซอฟต์แวร์ ERP ในท้องตลาด
IFS Applications             MFG/PRO                      SSA Baan ERP5
mySAP ERP                   CONTROL                      Oracle
Peoplesoft                     J.D. Edwards                 Bann
กลุ่มที่ถือว่าเป็นผู้นำตลาด คือ SAP, Oracle, Peoplesoft, Bann และ J.D. Edwards

การขยายขีดความสามารถของระบบ ERP และระบบเครือข่ายอุตสาหกรรม
            การขยายขีดความสามารถของ ERP (Extended ERP) คือมีการขยายฟังก์ชันการทำงาน ERP ให้มีการบูรณาการกับซอฟต์แวร์อื่นๆ เช่น
            1)  ระบบการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า (CRM)
            2)  การบริหารห่วงโซ่อุปทาน (SCM)
            3)  การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) ฯลฯ
            ทำให้ ERP และซอฟต์แวร์เหล่านี้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้และเป็นการบูรณาการที่มี ERP เป็นฐาน นอกจากนั้นยังมีการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและเว็บแอปพลิเคช่น (Web Application) เพื่อเชื่อมต่อระว่างกระบวนการทางธุรกิจภายในองค์การเข้ากับกระบวนการทางธุรกิจภายนอกองค์การ

กรณีศึกษาบทที่ 11
โซ่อุปทานของบริษัทเชฟรอน เทคซาโก

1. ระบบที่ใช้ในบริษัทเชฟรอน เทคซาโก จัดว่าเป็นระบบบริหารทรัพยากรองค์การแบบขยายขีดความสามารถ (Extended ERP) อย่างไร ให้อธิบายพร้อมยกตัวอย่างจากกรณีศึกษาประกอบ
ตอบ =  การขยายขีดความสามารถ (Extended ERP) คือมีการขยายฟังก์ชันการทำงานของ ERP ให้มีการบูรณาการกับซอฟต์แวร์อื่นๆ  ทางบริษัทได้นำระบบ SAP ทำงานคู่กับซอฟต์แวร์ประยุทกต์ซึ่งบันทึกข้อมูลแบบเรียลไทม์ (Real time) ณ.สถานีก๊าซ รวมทั้งสนับสนุนการวางแผนระบบสาสนเทศในอนาคต

2. ประโยชน์ที่ทางบริษัทเชฟรอน เทคซาโกได้รับหลังจากการเปลี่ยนระบบมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ =  1.  บริษัทมีผลกำไรมากขึ้น
            2.  สามารถวางแผนหรือทำนายความต้องการล่วงหน้าอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
            3.  ทำให้สถานีต่างๆ ไม่ขาดแคลนก๊าซ
            4.  บริษัทมีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแบบก้าวกระโดด
5.  สามารถลดระยะเวลาในการตัดสินใจ + การทำงาน

3. ท่านจะเสนอแนะแนวทางในการนำระบบ ERP มาใช้ปฏิรูปองค์การธุรกิจได้อย่างไรบ้าง
ตอบ = ประโยชน์ในการนำระบบ ERP เข้ามาใช้นั้นช่วยให้กระบวนการในการทำงานขององค์การเป็นอย่างอัตโนมัติ (มีการเชื่อมต่อกันทั้งองค์การ) ทำให้การทำงานขององค์การเป็นในแนวทางเดียวกันส่งผลผู้บริหารทราบข้อมูลผลการดำเนินงานและตรวจสอบสถานการณ์ดำเนินงานโดยรวมขององค์การและสามารถตัดสินใจการบริหารได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว พร้อมทั้งสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันขององค์การ การนำ ERP มาใช้ควรตามขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนแรก วิเคราะห์ถึงสภาพปัจจุบันของบริษัทว่ามีความจำเป็นว่าควรนำระบบ ERP มาใช้หรือไม่ แล้วนำมาวิเคราะห์ถึงปัญหาและสภาพแว้ดล้อมของบริษัทและวางเป้าหมายในอนาคตว่าต้องการเป้าหมายในทิศทางอย่างไร และสร้างจิตสำนึกในความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงระบบให้บุคลากรในทุกระดับได้ทราขั้นตอนที่สอง วางแผนและนำเป้าหมายที่วางเอาไว้มาดำเนินการและจัดคณะกรรมการในการคัดเลือกระบบ ERP มาใช้ในทิศทางที่บริษัทต้องการ ขั้นตอนที่สาม สำรวจระบบงานปัจจุบันว่าควรปรับปรุงหรือลดขั้นตอน หรือเปลี่ยนแปลงงานอย่างไร และหาความต้องการของส่วนงานต่าง ๆ ของบริษัทว่าต้องการซอฟต์แวร์ที่มีความสามารถอย่างไรบ้าง และทำการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ ERP จากหลายๆแหล่ง หากคณะทำงานคิดว่าไม่มีความรู้ความสามารถก็อาจจ้างที่ปรึกษามาช่วยก็ได้ขั้นตอนสุดท้าย ทำการฝึกอบรมและให้การสนับสนุนบุคลากรในการใช้ระบบ และส่งเสริมให้บุคลากรมีความชำนาญในการใช้ระบบให้มีความเข้าใจและเชื่อมั่นในข้อมูลที่ได้ พร้อมทั้งขยายขีดความสามารถและเพิ่มประสิทธิภาพของระบบเมื่อความต้องการเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมของบริษัท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น